การประชุมวิชาการระดับชาติการวิจัยประยุกต์ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2566
(NCAR NBU : National Conference in Applied Research)
“มิติใหม่ของโลกภายหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 :
ความท้าทายและโอกาส”
(New Global Perspectives in the post- pandemic:
Challenges and Opportunities)
วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต

https://line.me/ti/g/MmjSvZKWI0

หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้ทั่วโลกต่างเฟ้นหามาตรการต่าง ๆรับมือที่ดีที่สุด และหนึ่งในมาตรการที่สำคัญคือมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมหรือ Social Distancing จนนำไปสู่การปิดเมือง ปิดเศรษฐกิจ และปิดสถาบันการศึกษาในเวลาต่อมา ตลอดระยะเวลากว่าสองปีที่ผ่านมาโลกต้องเผชิญกับวิกฤติต่างๆ นานัปการนับตั้งแต่การเกิดโรคระบาดโควิด 19 พบว่าแต่ละธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่เท่ากัน มีบางธุรกิจรายได้ติดลบ ยอดขายหายไป เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว ยานยนต์ ปิโตรเคมี ธุรกิจธนาคาร   แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีธุรกิจที่ทรงตัวได้ หรือได้รับผลประโยชน์จากสถานการณ์ตอนนี้ เช่น ธุรกิจอุปโภคบริโภค ธุรกิจยารักษาโรค ธุรกิจผลิตอุปกรณ์การแพทย์ ผลิตหน้ากากอนามัย ดังนั้น ทุนนิยมไม่ได้ล่มสลาย แต่มีผู้ได้ผู้เสียต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม ทิศทางที่เห็นได้ชัดคือ ธุรกิจอย่าง Tech firm จะเติบโตและขยายอิทธิพลข้ามพรมแดนไปในธุรกิจอื่น เพราะทั้งภาคธุรกิจ โรงเรียน มหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐ ต่างต้องหันมา พึ่งโลกออนไลน์มากขึ้น ธุรกิจค้าขายผ่าน e-commerce มากขึ้น การทำธุรกรรมออนไลน์ก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ เราต้องแยกให้ออกว่า new normal ที่หลายคนกำลังพูดถึงเป็นความผิดปกติชั่วคราว หรือจะกลายเป็นลักษณะของโลกใหม่หลังโควิด-19 จริง ภายหลังจากรัฐบาลไทยได้ประกาศลดระดับการเฝ้าระวังจากโรคระบาดเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังพร้อมกับการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรคอันเข้มงวดทำให้ธุรกิจและกิจกรรมทางสังคมได้ดำเนินการต่อได้ภายใต้มุมมองใหม่ของการใช้ชีวิต และการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การทำความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวจึงมีความสำคัญอย่างยิงต่อแบบแผนใหม่ที่จะเป็นแบบแผนปกติต่อไป

 

ด้วยการเล็งเห็นความสำคัญของพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในด้านการพัฒนาองค์ความรู้ ผ่านการทำวิจัยและเผยแพร่งานวิจัยทั้งระดับพื้นฐานและวิจัยประยุกต์ในสาขาต่างๆ ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของสถาบันอุดมศึกษาโดยเฉพาะการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาที่นักศึกษาจะต้องมุ่งพัฒนาทักษะทางด้านการวิจัยและที่สำคัญคือการเผยแพร่ผลงานวิจัยให้สาธารณะรับทราบและนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยส่วนหนึ่งมุ่งหวังให้เป็นประโยชน์แก่การเรียนการสอน การพัฒนานักศึกษา การพัฒนาคณาจารย์/นักวิจัย การพัฒนางานวิจัย การเผยแพร่งานวิจัยร่วมกัน นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างช่องทางในการเผยแพร่งานวิจัยในระดับชาติ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ประสบการณ์ในการทำวิจัยในบริบทที่หลากหลาย กระตุ้นนักวิชาการให้เกิดบรรยากาศทางวิชาการในลักษณะกัลยาณมิตรยังประโยชน์ทั้งนักวิจัยมือใหม่ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาความร่วมมือทางวิชาการกับเครือข่ายอื่นๆ ในอนาคต ด้วยความสำคัญดังกล่าวข้างต้น จึงได้ให้มีการจัดการการประชุมวิชาการระดับชาติการวิจัยประยุกต์ ประจำปี 2566 ครั้งที่ 5 ขึ้นในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 ภายใต้หัวข้อ  “มิติใหม่ของโลกภายหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : ความท้าทายและโอกาส”

สาขาที่เปิดรับ

  1. – วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  2. – สังคมศาสตร์
  3. – ศึกษาศาสตร์
  4. – สหวิทยาการ

กลุ่มเป้าหมาย

จำนวน 350 คน ได้แก่

  • 1. กลุ่มผู้นำเสนอบทความวิจัย และบทความวิชาการ
    • – นักวิชาการและนักวิจัย จำนวน 100 คน
    • – นักศึกษาระดับปริญญาโท – เอก จำนวน  200 คน
  • 2 กลุ่มผู้เข้าร่วมฟังการเสนอบทความวิจัย และบทความวิชาการ
    • – นักวิชาการ และนักวิจัย จำนวน 20 คน
    • – นักศึกษาระดับปริญญาโท – เอก จำนวน 30 คน

  รูปแบบการนำเสนอ

  1. 1. นำเสนอผลงานวิจัย ณ ห้องประชุม (On-site Presentation)
  2. 2. นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบออนไลน์ (Online Presentation)
  3. 3. นำเสนอผลงานวิจัยรูปแบบโปสเตอร์ (Poster-Presentation

กำหนดระยะเวลาส่งบทความ

วัน/เดือน/ปี การดำเนินงาน
ตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 15 กุมภาพันธ์ 2566 ลงทะเบียนนำเสนอบทความ
15 พฤศจิกายน – 20 กุมภาพันธ์ 2566 เปิดรับบทความวิจัยและบทความวิชาการ
25 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
5 มีนาคม 2566 แจ้งผลการพิจารณา
15 มีนาคม 2566 ผู้นำเสนอส่งบทความที่ปรับปรุงแก้ไข
24 มีนาคม 2566 วันนำเสนอบทความวิจัยและบทความวิชาการ

 

 

อัตราค่าลงทะเบียน

  • – นักวิจัย 2,500 บาท
  • – นักศึกษา 2,000 บาท
  • – นักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 1,800 บาท
  • – ผู้เข้าร่วม 300 บาท
  • – กรณีการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ผู้ร่วมงานจะต้องชำระค่าจัดทำและค่าติดตั้งอีก 1,000 บาท
  • – ชำระค่าลงทะเบียนได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานใหม่ ดอนเมือง เลขที่บัญชี 134-5567-992 (ประเภทออมทรัพย์) ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ 2 สะพานใหม่ดอนเมือง

การติดต่อลงทะเบียนและส่งผลงาน

  • – อาจารย์นิษรา พรสุริวงษ์ หรืออาจารย์ยุวดี  ชูจิตต์
  • – อีเมล์ nbu.conference2023@northbkk.ac.th
  • – โทรศัพท์ 0-2972-7200 ต่อ 333, 0970696552
  • – โทรสาร 0-2972-7751
  • – มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ เลขที่ 6/999  ซ.พหลโยธิน 52  แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220